เทศบาลตำบลวังโพธิ์
อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศยกฐานะพื้นที่บางส่วนของตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ขึ้นเป็นสุขาภิบาลโดยใช้ชื่อว่า สุขาภิบาลลุ่มสุ่ม โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 73 ตอนที่ 99 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 และได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลลุ่มสุ่ม เพื่อความเหมาะสมในการบริการและการทำนุบำรุงท้องถิ่น ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2525
ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับฏีกา เล่ม 116 ตอนที่ 9 ก. ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 เป็นผลให้สุขาภิบาลลุ่มสุ่มเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลลุ่มสุ่ม เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2542 และได้มีการเปลี่ยนชื่อ จากเทศบาลลุ่มสุ่ม เป็นเทศบาลตำบลวังโพธิ์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องเปลี่ยนชื่อเทศบาล ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2549 ซึ่งผลใช้บังคับนับแต่วันที่ประกาศ นับตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2549 เป็นต้นมา
อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายของเทศบาลตําบล
อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552 และพระราชบัญญัติกําหนดและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้
1. อํานาจหน้าที่ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552 ได้กําหนดอํานาจหน้าที่ที่เทศบาลตําบลต้องทํา ได้แก่
(1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(2) ให้มีและบํารุงทางบกและทาง
(3) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการ กําจัดมูลฝอยและ สิ่งปฏิกูล
(4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
(5) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
(6) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
(7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(8) บํารุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของทั้งถิ่น
(9) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
2. อํานาจหน้าที่ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไข เพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552 ได้กําหนดอํานาจหน้าที่ที่เทศบาลตําบลอาจจัดกิจกรรมใดๆ ในเขต เทศบาล ได้แก่
(1) ให้มีน้ําสะอาดหรือการประปา
(2) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
(3) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
(4) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
(5) บํารุงและส่งเสริมการทํามาหากินของราษฎร
(6) ให้มีและบํารุงสถานที่ทําการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
(7) ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(8) ให้มีและบํารุงทางระบายน้ํา
(9) เทศพาณิชย์
3. และหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ให้เทศบาลเมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตําบลมีอํานาจ และหน้าที่ในการ จัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
(1) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
(2) การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ําและทางระบายน้ํา
(3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
(4) การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ
(5) การสาธารณูปการ
(6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
(7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
(8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
(9) การจัดการศึกษา
(10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และ ผู้ด้อยโอกาส (11) การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันของท้องถิ่น (12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(13) การจัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(14) การส่งเสริมกีฬา
(15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
(17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(18) การกําจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ําเสีย
(19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(22) การจัดให้มีและควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณอื่น ๆ
(24) การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
(25) การผังเมือง
(26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
(27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(28) การควบคุมอาคาร
(29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษา ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ ประกาศกําหนด
ประวัติหมู่บ้านวังโพธิ์
บ้านวังโพธิ์ เป็นชุมชนที่มีธรรมชาติอันงดงาม แวดล้อมไปด้วยขุนเขาและสายน้ำปกคลุมไปด้วยป่าดงพงไพร ซ่อนไว้ด้วยประวัติศาสตร์อันลึกล้ำ ยากที่จะค้นหา หากแต่เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ความลี้ลับของบ้านวังโพธิ์ดินแดนส่วนหนึ่งของกาญจนบุรีจึงถูกค้นพบโดย ดร. แวน ฮิกเคอเรน (Dr. H.R. Van Heekeren) นักโบราณคดีชาวฮอลันดา ทำให้เกิดการขุดค้น สำรวจ เรื่องราวของมนุษย์สมัยที่อาศัยอยู่ตามเถื่อน ตามถ้ำและปรากฏหลักฐานเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าดินแดนแห่งนี้เคยเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่แหล่งหนึ่งของมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์ที่เรียกว่า มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เรื่อยมาจนถึงยุคประวัติศาสตร์ การสำรวจเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์เนื่องมาจาก ดร.แวน ฮิกเคอเรน นักโบราณคดี ชาวฮอลันดา ซึ่งทำงานอยู่ในประเทศอินโดนีเชีย ได้ถูกญี่ปุ่นเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟสายมรณะสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในระหว่างปี พ.ศ. 2486 ? 2487 ขณะที่ทำงานอยู่ที่บ้านเก่า ใกล้สถานีรถไฟบ้านเก่า กิโลเมตรที่ 145 ห่างขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองกาญจน์ 35 กิโลเมตร ได้พบเครื่องมือหินกะเทาจากหินกรวดหลายชิ้น จึงเก็บซ่อนไว้ เมื่อสงครามยุติแล้วได้นำเครื่องมือหินไปศึกษาที่พิพิธภัณฑ์พีบอดี้ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด กับ ศาสตราจารย์โมเวียสปรากฏว่าเป็นขวานหินยุคใหม่ในปี พ.ศ. 2499 ศาสตราจารย์โมเวียส ได้ส่งลูกศิษย์มาสำรวจ โดยร่วมมือกับกรมศิลปากร ได้ทำการสำรวจตั้งแต่บ้านเก่าถึงวังโพธิ์ เป็นระยะทาง 26 กิโลเมตร พบเครื่องมือเรียกว่าหินกรวด 104 ชิ้น เครื่องมือกะเทาะ 4 ชิ้น พบบริเวณที่ตั้งถิ่นฐานของคนยุคหินใหม่ 2 แห่ง และบริเวณที่ตั้งถิ่นฐานของคนยุคทองสัมฤทธิ์อีกด้วย ต่อมาด้วยความร่วมมือของกองทุนสำรวจเดนมาร์ก กรมศิลปากร สยามสมาคมและจังหวัดกาญจนบุรี ได้รวมกันเป็นคณะเรียกว่า คณะสำรวจไทย ? เดนมาร์ก ได้ทำการสำรวจอย่างจริงจัง พบว่าที่ใกล้โรงเลื่อยวังโพธิ์ สถานีรถไฟวังโพ พบเศษเครื่องปั้นดินเผาสมัยประวัติศาสตร์ เศษเครื่องปั้นดินเผายุคโลหะและสมัยหินใหม่ ขวานหินขัดสมัยหินใหม่ ซึ่งมิสเตอร์ คาร์ล ไฮเตอร์ ได้สำรวจและรายงานเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2499 ว่าเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคทองสัมฤทธิ์
วิสัยทัศน์
เทศบาลตำบลวังโพธิ์ เมืองน่าอยู่ มุ่งสู่คุณภาพชีวิตที่ดี มีความพร้อมทางการศึกษา พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม เพียบพร้อมธรรมาภิบาล
พันธกิจ
1. ส่งเสริมพัฒนากระบวนการชุมชนเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
2. จัดให้มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่มีปรัสิทธิภาพ เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต
3. ส่งเสริมการประกอบอาชีพและสร้างรายได้
4. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา สาธารณสุข ตลอดจนอนุรักษ์พัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
5. การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสิ่งแวดล้อม
6. ส่งเสริมให้ชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตราฐาน
7. ส่งเสริมใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ดวงตราสัญลักษณ์เทศบาลตำบลวังโพธิ์
สัญลักษณ์
เทศบาลตำบลวังโพธิ์ ได้เปลี่ยนแปลงชื่อจากเดิม เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับองค์การบริหารส่วนตำบลลุ่มสุ่ม เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชน ชาวบ้านและบุคคลทั่วไปเรียกกันว่า?”บ้านวังโพธิ์” ซึ่งตราสัญลักษณ์ของเทศบาลมีลักษณะดังนี้
1. ดวงตราเป็นเครื่องหมายรูปวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4?เซนติเมตร
2. ขอบเบื้องบนมีข้อความว่า “เทศบาลตำบลวังโพธิ์”
ขอบเบื้องล่างมีข้อความว่า “จังหวัดกาญจนบุรี”
3. ตอนกลางเป็นรูปทางรถไฟสายมรณะ มีขบวนรถไฟแล่นอยู่บนราง?ขนานไปกับแม่น้ำแควน้อย
ความหมาย
ตราสัญลักษณ์เป็นรูปรถไฟแล่นอยู่บนราง ซึ่งหมายถึงเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์หรือทางรถไฟสายมรณะ ที่สร้างในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และมีเส้นทางบางช่วงผ่านเขตเทศบาลซึ่งเป็นเส้นทางช่วงหนึ่งที่มีชื่อเสียงและสวยที่สุด คือช่วงโค้งสะพานถ้ำกระแซ โดยรถไฟจะแล่นไปบนสะพานไม้เลียบไปกับหน้าผาที่สูงชัน ส่วนอีกด้านจะเป็นแม่น้ำแควน้อย ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชุมชน วังโพธิ์มาช้านาน
สภาพทั่วไปของเทศบาล
ลักษณะทางกายภาพ
เทศบาลตำบลวังโพธิ์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี ?มีพื้นที่ทั้งหมด 5.2 ?ตารางกิโลเมตร ?หรือประมาณ 3,250? ไร่ โดยสำนักงานเทศบาลตำบลวังโพธิ์ ตั้งอยู่เลขที่ 999 หมู่ที่ 1 ตำบลลุ่มลุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 50 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งอยู่ตรงริมแม่น้ำแควน้อย ฝั่งตะวันตกที่ตั้งอยู่ห่างจากสูบน้ำไปทางทิศเหนือ 400 เมตร จากหลักเขตที่ 1 เป้นเส้นตั้งฉากกับทางรถไฟสายธนบุรี – กาญจนบุรี ไปงทิศตะวันออกถึงจุดที่อยู่ห่างจากทางรถไฟไปทางทิศตะวันออก 350 เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 2
ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 เป้นเส้นขนานกับทางรถไฟสายธนบุรี – กาญจนบุรี ไปทางิศตะวันออกถึงจุดที่อยู่ห่างจากทางรถไฟทางทิศตะวันออก 350 เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 2
ทิศใต้ จากหลักเขตที่ 3 เป้นเส้นตั้งฉากกับเส้นหลักเขตที่ 3 ไปทางทิศตะวันตก ถึงฝั่งตะวันออกของลำน้ำแควน้อย ซึ่งเป้นหลักเขตที่ 4
ทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ 4 เลียบฝั่งตะวันตกของลำน้ำแควน้อยไปทางทิศเหนือบรรจบจากหลักเขตที่ 1
สภาพภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลตำบลวังโพธิ์ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มเชิงเขาติดแม่น้ำแควน้อย พื้นที่ราบเชิงเขามีป่าไม้ปกคลุม มีเส้นทางรถไฟแบ่งชุมชนออกเป้นสองฝั่ง คือฝั่งติดภูเขาและฝั่งติกแม่น้ำแควน้อย
สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ
– ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม
– ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน
– ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมกราคม
สภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่วไป
สภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่วไป เวลากลางวันอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าว เวลากลางคืน อากาสค่อนข้างเย็น อุณหภุมิต่ำสุด 7.0 องศาเวลเซียส อุณหภูมิสูงสุด40.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 26.77 องศาเวลเวียส ปริมารน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,034.10 มิลลิเมตร